ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนวังทอง หมู่ที่ 7 บ้านคลองใหญ่

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนวังทอง หมู่ที่ 7 บ้านคลองใหญ่ ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นโดยการรวมตัวกันของเกษตรกรที่ต้องมาหาอาชีพที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่นานแต่ได้ผลตอบแทนสูง แรกเริ่มเลี้ยงรายละ 1-2 ตัวแยกเลี้ยงตามบ้านเกษตรกรแต่ละราย โดยส่งขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อถึงในหมู่บ้านใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ในราคาตัวละ 30,000 – 50,000 บาท ต่อ 1 ตัว / ที่น้ำหนัก 400-500 กิโลกรัม โดยใช้อาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาทิ กระถินณรงค์ หญ้าหวาย มันสำปะหลัง หญ้าเนเปียร์ ฯลฯ ที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ราคาถูก เมื่อเกษตรกรภายในหมู่บ้านเห็นว่าการเลี้ยงโคขุนนั้นให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนวังทอง โดยมีสมาชิก จำนวน 40 ราย ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการบริหารกลุ่ม โดยก่อสร้างคอกเลี้ยงกลางจำนวน 1 แห่ง ให้สมาชิกแต่ละรายผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาดูแลโคขุนทุกวัน และส่วนหนึ่งก็แยกเลี้ยงไปตามบ้านของสมาชิกในลักษณะกู้ยืมเงินทุนจากกลุ่มไปเลี้ยงหรือยืมโคขุนไปเลี้ยงเมื่อจำหน่ายได้ก็นำเงินมาชำระหนี้ที่กลุ่ม โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง ความไม่ประมาท คำนึงถึงหลักความความพอประมาณ ความมีเหตุผล โดยมีความรู้ มีข้อมูล มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นทุนของท้องถิ่นช่วยสร้างความมั่นคง เข้มแข็ง ให้กับประชาชน รู้เท่าทัน เข้าใจ การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ มีความรอบคอบทั้งการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ มีวิถีดำเนินชีวิตที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน มุ่งมั่น เพี่อให้ประสบความสำเร็จ มีรายได้ อาชีพ พึ่งตนเองได้และมีกำลังที่จะสนับสนุนแบ่งปัน ในอันที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว สังคม อย่างมีความสุข สร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคการผลิต คือ การรวมกลุ่มของประชาชนที่มีจุดประสงค์เป้าหมายร่วมกัน เพื่อดำเนินกิจกรรมการผลิต สร้างพลังของการพึ่งตนเองของกลุ่มอาชีพ สามามารถต่อรองราคากับผู้ซื้อได้ เพื่อไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อได้ โดยใช้เทคโนโลยี Internet และการใช้ smart phone ค้นหาผู้ซื้อ ผู้ขาย ข้อมูลทางการเกษตร โดยรัฐบาลได้สนับสนุนโครงการ อินเตอร์เน็ตประชารัฐ และคาดหวังว่า เมื่อโครงข่ายอินเตอร์เน็ตประชารัฐแล้วเสร็จครอบคลุมทุกหมู่บ้านในปี 2561 จะมีร้านค้าออนไลน์ ร้านค้าประชารัฐเกิดขึ้นราว 10,000 แห่ง มีสินค้าและบริการจากชุมชน 50,000 รายการ สร้างรายได้ให้แก่หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 300,000 บาทต่อปี มีผู้ประกอบการ SME 3 ล้านราย จะเกิดการจ้างงาน 10 ล้าน ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างกิจกรรมในชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้สร้างความเป็นธรรมเพื่อปรับเปลี่ยนประเทศให้ดีขึ้น ช่วยให้ประเทศหลุดพ้นกับดักความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงช่วยให้ประเทศหลุดพ้นกับดักความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงช่วยกำจัดความยากจนของครัวเรือนเกษตรกร

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ